ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566
ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์บริหารทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ตลอดทั้งการติดต่อกับ นานาชาติมาโดยตลอด และต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและการค้า การบริการของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกจัดลำดับให้เป็นมหานครที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 15 ของโลก อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลาง ทางการเงินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางการส่งเสริม เศรษฐกิจการค้าของประเทศให้สามารถเปิดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติ เศรษฐกิจกรุงเทพมหานครจึงมี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมาก เนื่องจากมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 25 ของเศรษฐกิจทั้งประเทศ ข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ใช้สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจ ของกรุงเทพมหานคร และเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลทางเศรษฐกิจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในที่นี้จะ กล่าวถึงทั้งอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออกสินค้า ธุรกิจการค้าและบริการ การท่องเที่ยว การขนส่งและโลจิสติกส์ รวมถึงการบริการเกษตรกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นรายได้ของประชากรในพื้นที่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ มีกระบวนการผลิตสินค้าที่ต้องใช้เครื่องจักร แรงงาน เทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานเฉพาะทาง ที่ต้องมีความเชี่ยวชาญสำหรับผลิตสินค้าในปริมาณมาก เป็น กิจกรรมที่สร้างมูลค่าผลผลิตมากกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( Gross Domestic Product: GDP) และก่อให้เกิดการจ้างงานโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับกระแสความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างประเทศของชาติ มหาอำนาจ ส่งผลให้เกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยสถานการณ์ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และยังไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้อย่างเป็นรูปธรรม ทุกองค์กรและภาคส่วน จึงต้องเร่งปรับตัว และร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหา พลิกฟื้น และกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้สามารถอยู่รอดได้ในภาวะ วิกฤตทางเศรษฐกิจนี้ และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับศักยภาพการ แข่งขันของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อยกระดับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว สำหรับข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตจากสำมะโนธุรกิจและ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า กรุงเทพมหานครมีจำนวนสถานประกอบการ อุตสาหกรรมการผลิต จำนวนทั้งสิ้น 33 , 533 แห่ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.1 (จำนวน 2.18 หมื่นแห่ง) เป็น สถานประกอบการขนาดย่อม ( Micro ) มีคนทำงาน 1 – 5 คน ร้อยละ 30.9 เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก ( Small ) มีคนทำงาน 6 – 50 คน ร้อยละ 3.2 เป็นสถานประกอบการขนาดกลาง ( Medium ) มีคนทำงาน 51 – 200 คน และร้อยละ 0.8 เป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ ( Large ) มีคนทำงานมากกว่า 200 คน ๑ . อุตสาหกรรมการผลิต ( Manufacture Industry) ด้านเศรษฐกิจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==