ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566
ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 55 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคที่มีการสื่อสาร ติดต่อค้าขายกันอย่างไร้พรมแดน รวมถึงมีปริมาณการค้า เพิ่มขึ้นมาก โดยเห็นได้จากการเปิดเสรีทางด้านการค้าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Free Trade Area การค้าทวิภาคี พหุภาคี เป็นต้น ประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนามาสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังมีการ แข่งขันทางด้านการค้ากันอย่างรุนแรง ดังนั้นการขนส่งจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการรับรอง การเคลื่อนย้ายทั้งสินค้าและมนุษย์ที่ต้องการการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและในปริมาณมาก ระบบการขนส่งแบบแรกที่จะกล่าวถึง คือ การขนส่งทางบก ซึ่งหมายถึง การลำเลียง คน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้พาหนะเคลื่อนที่บนบก สามารถขนส่งได้โดยทางรถไฟและทางถนน โดยการขนส่งทางถนนเป็นรูปแบบการขนส่งที่ได้รับความนิยมสูง เป็นการขนส่งโดยยานพาหนะชนิดต่าง ๆ เช่น รถบรรทุก รถพ่วง รถกระบะ รถยนต์ ฯลฯ บนผิวจราจรประเภทต่าง ๆ เช่น ทางหลวง ถนนราดยางมะตอย ถนนลูกรัง ที่เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายครอบคลุมบริเวณต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง จึงมีความสามารถในการเข้าถึงได้ มากกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ปี 2566 มีรถที่จดทะเบียนใน กรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 จำนวนทั้งสิ้น 11.79 ล้านคัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล รองลงมาเป็นรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 36. 5 ส่วนรถประเภทอื่น ๆ เช่น รถยนต์ สาธารณะ รถบดถนน รถพ่วง เป็นต้น มีสัดส่วนการจดทะเบียนแต่ละประเภทน้อยกว่าร้อยละ 1.0 และมีรถที่ จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 จำนวนทั้งสิ้น 1.94 แสนคัน โดยเป็นรถบรรทุก ร้อยละ 82.2 และรถโดยสารร้อยละ 17.8 แผนภูมิ 52 จำนวนและร้อยละของรถที่จดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 จำแนกตามประเภทรถ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 หมายเหตุ : รถโดยสาร หมายถึง รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารไม่ประจำทาง รถโดยสารส่วนบุคคล รถบรรทุก หมายถึง รถบรรทุกไม่ประจำทาง รถบรรทุกส่วนบุคคล ที่มา : กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ๔ . การขนส่งและโลจิสติกส์ ( Transportation and logistics)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==