ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566

ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 61 สำนักงานสถิติแห่งชาติ มลพิษทางอากาศ คือการปนเปื้อนของอากาศภายในหรือภายนอกอาคารจากก๊าซและอนุภาค ของแข็งที่ทำให้ลักษณะทางธรรมชาติทางของอากาศเปลี่ยนแปลงไป โดยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ สำคัญ ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ( Particulate Matter – PM 2.5 และ PM 10) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ( CO) โอโซน ( O 3 ) ผงเขม่าดำ ( Black Carbon – BC) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( SO 2 ) และออกไซด์ของไนโตรเจน ( NOx) ซึ่งมลพิษทางอากาศมักมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าเพราะอนุภาคเหล่านี้มีขนาดเล็กเกินกว่าที่ดวงตาของ มนุษย์จะมองเห็น แต่อาจสามารถมองเห็นได้ในบางสถานการณ์ เช่น เขม่าควันที่เกิดจากการเผาเศษวัสดุเหลือ ใช้ทางการเกษตร หรือเผาขยะในพื้นที่โล่งแจ้ง รวมทั้งเขม่าควันจากการเผาไม้ ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิงและ น้ำมันดีเซลเพื่อการประกอบอาหารและการผลิตพลังงานความร้อน การคมนาคมขนส่ง และการผลิตไฟฟ้า แม้ว่าเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่ามิได้หมายความว่าไม่มีมลพิษอยู่ในอากาศ จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปี 2565 วัดปริมาณฝุ่นรวมบริเวณริมถนนใน กรุงเทพมหานครตลอด 24 ชั่วโมง ได้เฉลี่ย 0.11 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน 48 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน 26 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เฉลี่ย 1 ชั่วโมงและ 8 ชั่วโมงอยู่ที่ 0.88 และ 0.87 ส่วนในล้านส่วน ตามลำดับ สารตะกั่วเฉลี่ย 1 เดือนอยู่ที่ 0.04 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก๊าซโอโซนเฉลี่ย 1 ชั่วโมงและ 8 ชั่วโมง อยู่ที่ 16 ส่วนในล้านส่วน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เฉลี่ย 1 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง อยู่ที่ 2 ส่วนในล้าน ส่วน และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เฉลี่ย 1 ชั่วโมง อยู่ที่ 25 ส่วนในล้านส่วน สำหรับมลพิษทางอากาศที่ กรมควบคุมมลพิษวัดปริมาตรได้เกินมาตรฐาน ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 2.5 ไมครอน และก๊าซโอโซนทุกช่วงเวลา ตาราง 9 คุณภาพอากาศบริเวณริมถนนในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒. มลพิษทางอากาศ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==