ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566

ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 62 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาโลกร้อน เกิดจาก กิจกรรมต่าง ๆ ของประชากรในพื้นที่ เช่น ขยะที่เกิดจากการอุปโภค - บริโภค บริการส่งอาหาร - สินค้า การจัด กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น ในด้านการกำจัดขยะมูลฝอย แม้ว่าจะมีมาตรการกำจัดขยะมูลฝอย จากภาครัฐและเอกชน แต่กระบวนการในการจัดการขยะส่วนใหญ่ยังทำไม่ถูกวิธี รวมทั้งขั้นตอนและวิธีการ กำจัดขยะก็ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ทำให้เกิดการสะสมของขยะมูลฝอย กระจายอยู่ใน ทุกพื้นที่ รวมถึงแม่น้ำและลำคลอง ส่งผลให้เกิดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชากร ในพื้นที่ จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ในปี 2565 กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะมูลฝอย 1.29 หมื่นตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 4.9 (จาก 1.23 หมื่นตันต่อวัน เป็น 1.29 หมื่นตันต่อวัน) ดังนั้น ทุกภาคส่วนรวมถึงประชากรในพื้นที่ควรร่วมด้วยช่วยกันในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ของตน เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แผนภูมิ 59 ปริมาณขยะมูลฝอย พ.ศ. 2563 - 2565 ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ใช้วิธีการกำจัดขยะภายในครัวเรือน โดยการเก็บรวบรวม ให้พนักงานนำไปทิ้ง ซึ่งจะเห็นว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 98.9 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 99.9 ในปี 2565 อาจเป็นเพราะในปัจจุบันมีการบริหารจัดการขยะระดับท้องถิ่นหรือชุมชน ซึ่งเป็นการอำนวยความ สะดวกให้ประชาชน รวมถึงมีการรณรงค์จากภาครัฐ สร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ สิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงวิธีการเผาขยะที่ทำให้เกิดมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการบังคับใช้ กฎหมายและบทลงโทษอย่างจริงจัง จึงทำให้การเผาขยะมีแนวโน้มลดลง ๓. ขยะมูลฝอย

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==