สรุปบทวิเคราะห์ Infographic ปี 2553-2565

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่เปลี่ยนผ่าน จากภาคเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้น ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลล้วน ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และการมีงานทำ ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยข้อมูล จากการสำ รวจภาวะการทำ งานของประชากร พ . ศ . 2564 ของสำ นักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำ นวน 57.09 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในกำ ลังแรงงาน 38.70 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 67.8 ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.75 ล้านคน ผู้ว่างงาน 0.75 ล้านคน และผู้รอฤดูกาล 0.20 ล้านคน อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้อยู่นอกกำ ลังแรงงาน หรือ ผู้ที่ไม่พร้อมจะทำ งาน 18.39 ล้านคน โดยผู้มีงานทำ เป็นผู้ทำ งานในภาคการบริการและ การค้ามากที่สุด ร้อยละ 45.9 รองลงมาเป็น ผู้ทำ งานภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 31.9 และ ทำ งานภาคการผลิต ร้อยละ 22.2 ส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำ งานเป็นลูกจ้าง โดยเป็น ลูกจ้างเอกชนมากกว่าลูกจ้างรัฐบาล แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือและเป็นแรงงาน นอกระบบซึ่งหากมองในเรื่องคุณภาพชีวิตของแรงงาน กลุ่มแรงงานนอกระบบที่เป็นกำ ลัง สำ คัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมักถูกละเลยขาดความคุ้มครองและหลักประกัน ทางสังคม ทำ งานโดยไม่มีสัญญาจ้างหรือไม่มีนายจ้างตามกฎหมาย รวมถึงมีค่าจ้างหรือ รายได้ที่ไม่แน่นอน มีความเปราะบางและความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มแรงงานอื่น ๆ นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยังส่งผลกระทบ โดยตรงต่อตลาดแรงงาน เห็นได้จากข้อมูลอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 2.3 ของผู้ที่อยู่ในกำ ลังแรงงาน ในไตรมาส 3/2564 มีแรงงานในระบบที่ขอรับประโยชน์ ทดแทนการว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างเพิ่มสูงสุดมากกว่า 7 เท่าในเดือนกันยายน 2563 และ GDP ลดลงต่ำ สุดถึงร้อยละ 12.1 ในไตรมาส 2/2563 ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรคำ นึงถึง ความสำ คัญกับการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของโลกปัจจุบันและควรหันกลับมาช่วยเหลือแรงงานนอกระบบอย่างจริงจังมากขึ้น อีกทั้ง ในเรื่องของสวัสดิการและความมั่นคงในการทำ งาน ซึ่งเป็นกำ ลังหลักของประเทศในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต II ด้านแรงงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==