สรุปบทวิเคราะห์ Infographic ปี 2553-2565

ด้านสุขภาพ สุขภาพเป็นสิ่งสำ คัญ ซึ่งพฤติกรรมในชีวิตประจำ วันจะส่งผลต่อสุขภาพเสมอ ไม่ว่าจะ เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย หรือ พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แม้กระทั่ง พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศ โดยเมื่อเวลาผ่านไป ผลลัพธ์ของพฤติกรรมจะ แสดงออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี หรือ การเจ็บป่วยจากโรคติดต่อ / โรคไม่ติดต่อ โดยสาธารณสุขให้ความสำ คัญกับการเป็นโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases : NCDs) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจาก นิสัยหรือพฤติกรรมการดำ เนินชีวิตที่สะสมอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาการบริโภคอาหารที่ ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารแปรรูปหรืออาหารไขมันสูง ถือเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิด โรค NCDs มากกว่า 80% ในขณะที่การบริโภคอาหารกลุ่มผักผลไม้ และการออกกำ ลัง กายมีแนวโน้มที่ลดลง แต่การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีแนวโน้มที่เพิ่ม ขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้วยังส่งผลกระทบต่อรายได้อีกด้วย เมื่อพิจารณา ฐานข้อมูลจาก UNAIDS พบว่า ในช่วงทศวรรษ ตั้งแต่ปี 2544 จำ นวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี ( ทุกวัย ) มีแนวโน้มลดลง จากประมาณ 7.6 แสนคน เป็นประมาณ 5.2 แสนคน ในปี 2564 สอดคล้องกับข้อมูลโครงการสำ รวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS6) ที่ พบว่าผู้ที่มีอายุน้อย (15-24 ปี ) มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้น ถึงแม้สถานการณ์ในภาพรวมจะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี แต่การติดเชื้อเอชไอวีก็ยังคง เป็นปัญหาของประเทศไทยอยู่ โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่ควรตระหนักถึงความสำ คัญในการ ป้องกันตนเองทุกครั้ง นอกจากนี้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19 ที่ส่งผลต่อ สุขภาพประชาชน ตั้งแต่ปลายปี 2562 ซึ่งในปัจจุบันประชาชนมีความคุ้นชินและสามารถ ปรับตัวตามรูปแบบการดำ เนินวิถีชีวิตใหม่ รวมถึงตื่นตัวในการป้องกันและดูแลสุขภาพ ร่างกายมากขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขเผยแพร่สถิติสถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 รายวัน พบว่า ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม มีจำ นวนสะสม 53.49 ล้านคน (76.9% ของประชาชนทั้งหมด ) และประชาชนได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม จำ นวน 32.14 ล้านคน (46.2% ของประชาชนทั้งหมด ) IV

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==