สรุปบทวิเคราะห์ Infographic ปี 2553-2565

ด้านหญิงและชาย ในสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ถือได้ว่าประเทศไทยประสบความสำ เร็จอย่างมากในการ พัฒนาสถานภาพและบทบาทของผู้หญิง โดยเฉพาะเรื่องการให้โอกาสผู้หญิงได้ศึกษาต่อใน ระดับที่สูงขึ้น การขยายโอกาสทางการศึกษา การเข้าสู่ตลาดแรงงาน การเข้าถึงบริการ สาธารณสุขพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม รวมถึงโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการ ปกครอง ข้อมูลสถิติชี้ว่าผู้หญิงไทยมีการพัฒนามากขึ้นตามลำ ดับ สถานภาพของผู้หญิงไทย มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในหลายด้านจะเห็นว่าผู้หญิงอยู่ในระบบการศึกษามากขึ้นมีการศึกษา ที่สูงขึ้น โดยจำ นวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 7.9 ในปี 2553 เป็น 8.8 ในปี 2563 สำ หรับ ด้านแรงงาน พบว่า ผู้หญิง 2 ใน 3 อยู่ในตลาดแรงงานมีงานทำ และค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น ช่องว่างระหว่างค่าจ้างแรงงานเพศหญิงและชายลดลง รวมถึงผู้หญิงมีอำ นาจในการตัดสินใจ ในระดับครัวเรือนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต สำ หรับความก้าวหน้าการพัฒนาที่กล่าวมา เกิด จากความพยายามของทุกภาคส่วนในการส่งเสริมผลักดันให้ผู้หญิงมีบทบาทที่ดีขึ้น มีความ มั่นคงทางด้านรายได้และการทำ งาน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสร้างสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนา การจัดให้มีกลไก กำ หนดมาตรการและจัดทำ กฎหมายหลายฉบับของภาครัฐ เพื่อส่งเสริม สถานภาพผู้หญิงและสร้างความเท่าเทียม เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกระทำ ด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ . ศ . 2550 พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ . ศ . 2548 เป็นต้น การจัดทำ แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสตรีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติซึ่งมีเป้าประสงค์ที่เน้นการส่งเสริมศักยภาพของผู้หญิง และความเสมอภาคระหว่าง เพศ ส่งผลให้การพัฒนาด้านผู้หญิงมีความก้าวหน้าประสบความสำ เร็จในหลายด้าน ความก้าวหน้าสำ คัญประการหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คือ ผู้หญิงมีแนวโน้มมี บทบาททางการเมือง การบริหาร และการปกครองเพิ่มขึ้น ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิง เข้ามาเป็นผู้บริหารเนื่องจากยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้หญิง อย่างไรก็ตามผู้หญิง ยังคงติดกับดักการพัฒนาในหลายประเด็นโดยเฉพาะเรื่องของความรุนแรงภายในครอบครัว ที่ยังคงมีให้เห็นอยู่ในสังคมไทย ข้อมูลสถิติชี้ว่าผู้หญิงเป็นเหยื่อของความรุนแรงอย่างต่อ เนื่องทั้งจากคนในครอบครัวและคนภายนอก นอกจากนี้ สถิติการมีบุตรก่อนวัยอันควร และ การตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ยังคงเป็นประเด็นที่ท้าทายในสังคม รวมถึงจำ นวนที่นั่งระดับ ท้องถิ่นมีสัดส่วนที่ต่ำ กว่าค่าเฉลี่ยโลก การเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม การพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งานของผู้หญิงเพื่อเพิ่ม ผลผลิตในทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการเพิ่มพูนศักยภาพของผู้หญิงในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะนำ มาสู่ ความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีภาวะทางเศรษฐกิจและรายได้ที่ดีขึ้น ลดปัญหา ความยากจน และนำ ไปสู่การปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้หญิงและครอบครัวของผู้หญิง ต่อไป VI

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==