NSO

แผนกำหนดความรับผิดชอบ/แผนพัฒนาสถิติทางการ

0

หน้าแรก / แผนกำหนดความรับผิดชอบ/แผนพัฒนาสถิติทางการ

แผนกำหนดความรับผิดชอบ


     แผนกำหนดความรับผิดชอบ เป็นการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบสถิติทางการที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย ประเด็นสำคัญของการพัฒนาประเทศ ทั้ง 3 ด้าน (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เฉพาะสถิติทางการที่มีหน่วยงานรับผิดชอบและมีข้อมูลพร้อมเผยแพร่ เพื่อให้หน่วยงานนำข้อมูล สถิติทางการเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน (Agency Data Catalog) และลงทะเบียนบนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog: GD Catalog) เพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติทางการกับหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป

ดาวน์โหลด

แผนพัฒนาสถิติรายสาขา


     แผนพัฒนาสถิติรายสาขามีองค์ประกอบสำคัญคือ “ผังสถิติทางการ” ที่กำหนดรายการสถิติที่สำคัญจำเป็นต่อการวางแผนและติดตามผลการพัฒนาระดับประเทศและสาขา พร้อมทั้งกำหนดหน่วยสถิติที่รับผิดชอบผลิตและพัฒนาสถิติดังกล่าว  กำหนดยุทธศาสตร์หรือแนวทางการพัฒนาการผลิต การเผยแพร่ และการใช้ประโยชน์สถิติ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อจำกัดและแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของหน่วยงานสถิติต่างๆ  การสนับสนุนทรัพยากรและการสนับสนุนด้านอื่นๆ ที่จำเป็น

ดาวน์โหลด

แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่


     แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ (จังหวัด) จัดทำขึ้นเพื่อให้ได้รายการข้อมูลสถิติที่ใช้ในการจัดทำตัวชี้วัดในการตอบโจทย์ประเด็นปัญหา (Pain Point) ในการพัฒนาจังหวัด รวมทั้งมีแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บ รวบรวม ข้อมูลสถิติที่สำคัญ จำเป็น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ด้าน แผนการปฏิรูปประเทศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน (Sustainable Development Goal: SDGs) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 แผนพัฒนาต่าง ๆ และแผนพัฒนาจังหวัดฉบับปัจจุบัน ซึ่งได้มีการดำเนินการตามมติคณะกรรมการบูรณาการนโยบายภาค (ก.บ.ภ.) ครั้งที่ 2/2564 โดยจะใช้ในการติดตามผลการพัฒนาสถิติและมีการทบทวนรายการสถิติที่อยู่ในแผนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีข้อมูลสถิติที่ทันสมัยตามนโยบายการพัฒนาจังหวัด

     โดยแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาสถิติทางการระดับพื้นที่ตามแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัดจะมีการจัดทำแนวทางการพัฒนาบัญชีสถิติทางการ ซึ่งเป็นการพัฒนาบัญชีสถิติทางการทุกรายการที่มีหน่วยงานในจังหวัดเป็นเจ้าของข้อมูล โดยสามารถพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น ด้านการพัฒนาคุณภาพสถิติทางการ ด้านการจัดทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่พร้อมใช้สำหรับการวิเคราะห์ ด้านการจัดทำคำอธิบายข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกับทรัพยากร (Resources) เป็นต้น ซึ่งแนวทางการพัฒนาบัญชีสถิติทางการจะมีการจัดทำตามความพร้อมของข้อมูล (Tier) ประกอบด้วย

  • Tier 1 คือ สถิติทางการที่มีคำนิยามและวิธีการผลิต มีข้อมูลพร้อมเผยแพร่ และมีหน่วยงานรับผิดชอบ
  • Tier 2 คือ สถิติทางการที่มีคำนิยามและวิธีการผลิตแต่ยังไม่มีข้อมูลพร้อมเผยแพร่
  • Tier 3 คือ สถิติทางการที่ไม่มีคำนิยามและวิธีการผลิต ไม่มีข้อมูล และไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ

แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่

  • แผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด (พ.ศ. 2566 - 2570) (ฉบับที่ 3) (76 จังหวัด)
  • แผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด (พ.ศ. 2561 - 2564) (ฉบับที่ 2) (76 จังหวัด)
  • แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ (พ.ศ. 2557 - 2560) (ฉบับที่ 1) (76 จังหวัด)
  • แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ 10 จังหวัดนำร่อง ประกอบด้วย กำแพงเพชร นครสวรรค์ สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี นครนายก และอุทัยธานี
  • แผนพัฒนาสถิติระดับกลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2557 - 2560) (18 กลุ่มจังหวัด)

แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ (รายจังหวัด)

แผนพัฒนาสถิติระดับกลุ่มจังหวัด