สถิติทางการ
- ประเด็น
- รายสาขา
- ระดับพื้นที่
สถิติทางการ
สถิติทางการ
(Official Statistics: (OS))
ข้อความหรือตัวเลข ที่เป็นตัวแทนแสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ในประเทศ ที่ประมวลตามความเป็นจริงจากข้อมูลที่เก็บ รวบรวมได้ตามหลักวิชาการทางสถิติ และเป็นสถิติที่มีความสำคัญต่อการใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณสมบัติสถิติทางการ
บัญชีสถิติทางการ
เอกสารแสดงบรรดารายการสถิติทางการเพื่อจัดทำแผนกำหนดความรับผิดชอบในการดำเนินงานทางสถิติตามแผนแม่บท
ประเด็น
สถิติทางการรายสาขา
แผนพัฒนาสถิติรายสาขาคือเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อให้ประเทศมีข้อมูลสถิติที่สำคัญจำเป็นต่อการวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้ม เพื่อวางแผนและประเมินผลการพัฒนาในแต่ละสาขาหน่วยสถิติต่างๆ และบุคลากรมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นในด้านการจัดทำข้อมูลและการจัดทำสถิติ ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงสถิติสาขาต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว
แผนพัฒนาสถิติรายสาขามีองค์ประกอบสำคัญคือ “ผังสถิติทางการ” ที่กำหนดรายการสถิติที่สำคัญจำเป็นต่อการวางแผนและติดตามผลการพัฒนาระดับประเทศและสาขา พร้อมทั้งกำหนดหน่วยสถิติที่รับผิดชอบผลิตและพัฒนาสถิติดังกล่าว กำหนดยุทธศาสตร์หรือแนวทางการพัฒนาการผลิต การเผยแพร่ และการใช้ประโยชน์สถิติ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อจำกัดและแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของหน่วยงานสถิติต่างๆ การสนับสนุนทรัพยากรและการสนับสนุนด้านอื่นๆ ที่จำเป็น
สถิติทางการระดับพื้นที่
สถิติทางการระดับพื้นที่ เป็นรายการสถิติทางการที่รวบรวมไว้เป็นบัญชีสถิติทางการตามแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัดที่แสดงรายการสถิติทางการที่สำคัญ จำเป็น โดยแบ่งสถิติทางการตามประเภทชุดข้อมูล เช่น ชุดข้อมูลประเด็นการพัฒนา ชุดข้อมูลประเด็นสำคัญ (Pain Point) ชุดข้อมูลพื้นฐาน เป็นต้น
แนวทางการพัฒนาบัญชีสถิติทางการ เป็นการพัฒนาบัญชีสถิติทางการที่มีคำนิยามและวิธีการผลิต มีข้อมูลพร้อมเผยแพร่ และมีหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งจะต้องทราบสถานการณ์สถิติทางการที่เป็นปัจจุบัน โดยมีการจัดกลุ่มสถิติทางการตามความพร้อมของข้อมูล (Tier) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- Tier 1 คือ สถิติทางการที่มีคำนิยามและวิธีการผลิต มีข้อมูลพร้อมเผยแพร่ และมีหน่วยงานรับผิดชอบ
- Tier 2 คือ สถิติทางการที่มีคำนิยามและวิธีการผลิต แต่ยังไม่มีข้อมูลพร้อมเผยแพร่
- Tier 3 คือ สถิติทางการที่ไม่มีคำนิยามและวิธีการผลิต ไม่มีข้อมูล และไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ
ปัจจุบัน สถิติทางการระดับพื้นที่เป็นบัญชีสถิติทางการตามแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด พ.ศ. 2566 – 2570 ของทั้ง 76 จังหวัด ประกอบด้วยบัญชีสถิติทางการที่หน่วยงานในจังหวัดเป็นเจ้าของ (Data Owners) ที่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด และมีสถิติจังหวัดในฐานะฝ่ายเลขาของคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัดทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาบัญชีสถิติทางการ สนับสนุนหน่วยงานในจังหวัดขึ้นชุดข้อมูลบนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด และลงทะเบียนชุดข้อมูลบนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันต่อไป
ชุดข้อมูลสำคัญระดับพื้นที่
- ชุดข้อมูลประเด็นผู้สูงอายุ: 1.จำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุจากการทะเบียน
- ชุดข้อมูลประเด็นผู้สูงอายุ: 2.ดัชนีการสูงวัยจากการทะเบียน
- ชุดข้อมูลประเด็นผู้สูงอายุ: 3.จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- ชุดข้อมูลประเด็นผู้สูงอายุ: 4.จำนวนผู้สูงอายุที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
- ชุดข้อมูลประเด็นผู้สูงอายุ: 5.จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง
- ชุดข้อมูลประเด็นผู้สูงอายุ: 6.จำนวนผู้สูงอายุที่ดูแลกันเอง
- ชุดข้อมูลประเด็นผู้สูงอายุ: 7.จำนวนผู้สูงอายุที่ไม่มีอาชีพ
- ข้อมูลตามแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัดฉบับที่ 3 (.zip)
- ข้อมูลตามแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัดฉบับที่ 2 (.zip)
- ข้อมูลตามแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัดฉบับที่ 1 (.zip)
- ชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับประเด็นยุทธศาสตร์ หรือประเด็นสำคัญ (Pain Point) ที่ผู้บริหารในจังหวัดให้ความสนใจ (.zip)
- ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบฐานข้อมูลจังหวัด (.zip)
- ชุดข้อมูลสถิติและสารสนเทศ (Data set) ในระดับพื้นที่ย่อย (ตำบล) (.zip)
- ชุดข้อมูลกลาง (ข้าว ผู้สูงอายุ การท่องเที่ยว และขยะ) (.zip)
- ชุดข้อมูลสถิติที่ตอบโจทย์ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทุ่งราบเจ้าพระยา (.zip)
- ชุดข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion: PC) / ประเด็นปัญหาสำคัญ (Critical Issue: CI) (.zip)