NSO

การติดตามและรายงานผล

0

หน้าแรก / การติดตามและรายงานผล / SDGs Goal 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs Goal 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เนื่องจากประเทศไทยมีระบบสถิติแบบกระจายงาน กล่าวคือ หน่วยงานภาครัฐต่างมีระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งที่ได้จากการบริหารงาน งานทะเบียน และจากความต้องการเฉพาะของหน่วยงาน เพื่อประมวลเป็นสถิติและสารสนเทศตามความต้องการของหน่วยงานเป็นหลัก ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมีข้อดีคือ ทำให้หน่วยงานมีข้อมูลใช้เพื่อการตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงานได้ตรงความต้องการ สะดวก และรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน การกำหนดนโยบาย หรือทิศทางการพัฒนาประเทศ ควรพัฒนาบนพื้นฐานที่เห็นภาพรวม ของทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ไม่อาจพิจารณาแยกส่วน ระหว่างด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาระบบสถิติ จึงเป็นส่วนสำคัญเพื่อให้ประเทศมีข้อมูลและสถิติที่บูรณาการกันเพื่อสะท้อนให้ ผู้กำหนดนโยบายเห็นภาพรวมผ่านเป้าหมาย เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดอย่างแท้จริง ภายใต้บริบทปัจจุบันที่มี การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงจากความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยจากโรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 17.18

     ยกระดับการสนับสนุนด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ให้เพิ่มการมีอยู่ของข้อมูลที่มีคุณภาพ ทันเวลาและเชื่อถือได้ จำแนกตามรายได้ เพศ อายุ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ สถานะการอพยพ ความพิการ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามบริบทของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

ตัวชี้วัด 17.18.1

       ตัวชี้วัดขีดความสามารถเชิงสถิติเพื่อการติดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 ตัวชี้วัด 17.18.2

    จำนวนประเทศที่มีกฎหมายสถิติแห่งชาติที่ สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของสถิติทางการ (The Fundamental Principle of Official Statistics : FPOS)

 ตัวชี้วัด 17.18.3

     จำนวนประเทศที่มีแผนสถิติระดับประเทศที่ได้รับเงินทุนอย่างเต็มที่ และอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุ จำแนกตามแหล่งเงินทุน