NSO

ข่าวกิจกรรม/ประชาสัมพันธ์

0

สำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 ระดับจังหวัด (ภาคใต้ 6 จังหวัด)

29 กันยายน 2566 จำนวนคนเข้าชม 352
สำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565  ระดับจังหวัด (ภาคใต้ 6 จังหวัด)

         วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2566 นายเจษฎา จิรวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการแถลงผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 ระดับจังหวัด (ภาคใต้ 6 จังหวัด) โดยมี ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวรายงานการประชุมในครั้งนี้ การแถลงผลการสำรวจโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 ระดับจังหวัด (ภาคใต้ 6 จังหวัด)ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการติดตามความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศ ในการปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนาเด็ก รวมถึงการเสริมพลังและสถานภาพของสตรี ดังจะเห็นได้จากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอและทันเวลา อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือ การได้เห็นประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ จากภาพสะท้อนของการวิเคราะห์และการเผยแพร่ข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีข้อมูลสำหรับใช้ติดตามและประเมินผลสถานการณ์ด้านเด็กและสตรี สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดำเนินการจัดทำโครงการโดยใช้เครื่องมือ “สำรวจพหุดัชนีแบบจัดกลุ่ม หรือ The Multiple Indicator Cluster Survey หรือ MICS” และใช้ชื่อโครงการว่า สำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย โครงการนี้มีแบบสำรวจและเครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน ทำให้สามารถเปรียบเทียบ ผลการสำรวจกับนานาประเทศได้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 สำหรับการสำรวจในปี 2565 นี้นับเป็นครั้งที่ 5 ของประเทศไทย [ครั้งที่ 2 ปี 2555 ครั้งที่ 3 ปี 2558 ครั้งที่ 4 ปี 2562] และนำเสนอข้อมูลในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด รวม 12 จังหวัด โดยพิจารณาคัดเลือกจากมุมมองด้านความเสมอภาค ดังนี้ 5 จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสได้รับการคัดเลือกเนื่องจากปัญหาความไม่สงบที่มีมายาวนานในพื้นที่และปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ ส่วน 7 จังหวัดถัดมา ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก นครราชสีมา ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ นครพนม และระนอง ได้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์สัดส่วนคนยากจน พ.ศ. 2563 พบว่าเป็นจังหวัดยากจนที่สุดในแต่ละภาค การสำรวจครั้งนี้ทำให้ทราบสถานการณ์ด้านเด็กและสตรีในระดับจังหวัด รวมทั้งเกิดความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเด็กและสตรี ส่งผลให้สามารถวางแผนงานและกำหนดโครงการต่าง ๆ ในการพัฒนาเด็กและสตรีได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของจังหวัด นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังใช้เป็นพื้นฐานของตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ในหลายเป้าหมาย เพื่อสนองต่อนโยบายระดับประเทศที่จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า แม้การพัฒนาเด็กในภาพรวมของทั้งประเทศจะมีความก้าวหน้าในหลายด้าน แต่เด็กในภาคใต้ยังคงขาดแคลนและเข้าไม่ถึงการพัฒนาในบางมิติ เช่น ขาดโภชนาการที่เหมาะสม ขาดภูมิคุ้มกันโรค ไม่ได้เข้าเรียน และขาดทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ขณะนี้ การสำรวจได้สำเร็จลุล่วงแล้ว และเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สำนักงานสถิติแห่งชาติ และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย จึงได้จัดการแถลงผลการสำรวจในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน ติดตาม และกำหนดนโยบาย แผนงานและมาตรการที่จะทำให้เด็กและสตรีในประเทศไทย ยกระดับความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป ณ ห้องเทพทาโร ชั้น 3 ณ โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

สำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565  ระดับจังหวัด (ภาคใต้ 6 จังหวัด)
     
สำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565  ระดับจังหวัด (ภาคใต้ 6 จังหวัด)
     
สำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565  ระดับจังหวัด (ภาคใต้ 6 จังหวัด)
     
สำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565  ระดับจังหวัด (ภาคใต้ 6 จังหวัด)