NSO

องค์ความรู้

0

การสำรวจแนวทางใหม่ : เนปาลนำร่องใช้แนวทางบูรณาการข้อมูล

24 กรกฎาคม 2567 จำนวนคนเข้าชม 252

การสำรวจแนวทางใหม่ : เนปาลนำร่องใช้แนวทางบูรณาการข้อมูล

 

     สำนักงานสถิติแห่งชาติทั่วโลก กำลังขยายขอบเขตการผลิตสถิติเพื่อตอบสนองต่อบริบทการดำเนินการที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยกระดับความต้องการสถิติในพันธสัญญาทั่วโลก (global commitment) และแผนพัฒนาระดับประเทศ (national development plan) ให้มีคุณภาพ ทันเวลา และตอบสนองต่อข้อจำกัดด้านงบประมาณและอัตราการตอบที่ลดลง โดยเปลี่ยนจากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบดั้งเดิมไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อการบริหาร (administrative data) และแหล่งข้อมูลใหม่ที่ดีขึ้น ซึ่งการบูรณาการข้อมูลเป็นหนทางหนึ่งในการเชื่อมช่องว่างของข้อมูล และช่วยให้ความกระจ่างในพื้นที่ที่คลุมเครืออีกทั้งยังสร้างข้อมูลเชิงลึกที่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลเดียว ซึ่งต้องเอาชนะความท้าทายทั้งในแง่ของความพร้อมทางองค์กรและความพร้อมทางเทคนิค

 

โครงการเนปาล

     พ.ศ. 2565 ESCAP ได้ริเริ่มโครงการในชื่อ “การเสริมสร้างความสามารถทางสถิติของประเทศสำหรับการใช้แนวทางบูรณาการข้อมูล เพื่อผลิตและปรับปรุงข้อมูลสำหรับการวัดตัวชี้วัด SDG” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกับ NSO เนปาลในการฝึกปฏิบัติการนำร่องการบูรณาการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ขั้นตอนแรก คือ การฝึกระบุการบูรณาการข้อมูล โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและความพร้อมใช้งานของประเทศตนเอง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถคำนวณ ก) สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความคุ้มครองตามระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคม และ ข) ผลิตสถิติที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการตรวจสอบสถานะความยากจนของครัวเรือน ซึ่งการบูรณาการมีแหล่งข้อมูลเฉพาะจำนวนสี่แหล่งจะอธิบายไว้ในกล่องที่ 1

 

การเปิดใช้งานการเข้าถึงข้อมูล

     NSO ได้รับสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลที่จำเป็น โดยมีข้อตกลงผ่านหนังสือราชการกับ Department of National ID and Civil Registration และ Ministry of Land Management, Cooperatives and Poverty Alleviation ในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ผู้ถือข้อมูลต้นทางที่เกี่ยวข้องไม่สมัครใจที่จะแบ่งปันข้อมูลระดับจุลภาค เนื่องจากความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว จึงจำกัดขอบเขตของการฝึกให้อยู่ในหนึ่งจังหวัด คือ คัณฑกี (Gandaki) ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีครัวเรือน/บุคคลในทุกแหล่งข้อมูลมากกว่า

 

การเตรียมพร้อมการประมวลผลแหล่งข้อมูล

     การเตรียมพร้อมการประมวลผลต้องมีการทำความสะอาดข้อมูล (data cleaning) และการกำหนดมาตรฐานข้อมูล (standardising data) เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ใช้สำหรับการบูรณาการนั้นถูกต้อง สมบูรณ์ และสอดคล้องกันกับแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยกล่องที่ 2 จะนำเสนอขั้นตอนหลักของการเตรียมพร้อมการประมวลผล

     ซึ่งปัญหาของข้อมูลที่พบในการดำเนินการของเนปาลได้แก่ ก) การขาดหมายเลขประจำตัวที่ไม่ซ้ำกัน ข) ความแตกต่างในการถอดความเชื่อ ค) ความแตกต่างในเวลาที่ข้อมูลอ้างถึง ง) ความแตกต่างในการจำแนกประเภทและหมวดหมู่ทางภูมิศาสตร์ ดังนั้นการเตรียมพร้อมการประมวลผลดำเนินการนี้ใช้แนวทางกึ่งอัตโนมัติ (semi-automated approach) เนื่องจากบางปัญหายังต้องใช้การแก้ไขด้วยมือ

 

การเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น

     การเชื่อมโยงระเบียนประกอบด้วยสองแนวทางหลัก ได้แก่

 1. การจับคู่เชิงกำหนด (deterministic matching) เป็นการเปรียบเทียบฐานข้อมูลสองชุดเพื่อหาคู่ที่เหมาะสมตามตัวระบุที่ไม่ซ้ำกัน
 2. การจับคู่ตามความน่าจะเป็น (probabilistic matching) ซึ่งเป็นการใช้วิธีการทางสถิติเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่ระเบียนสองระเบียนบ่งบอกถึงความเหมือนกัน

     โดยการเลือกใช้แนวทางนั้นขึ้นอยู่กับข้อกำหนดเฉพาะของแอปพลิเคชัน รวมถึงคุณภาพของข้อมูล ระดับความถูกต้องที่ต้องการ และทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งในการฝึกปฏิบัติของเนปาล ใช้วิธีการจับคู่ตามความน่าจะเป็นโดยใช้ตัวแปรร่วมกันเนื่องจากขาดหมายเลขประจำตัวที่ไม่ซ้ำกันในแหล่งข้อมูลต่างๆ และเพื่อความสะดวกในการเชื่อมโยงระเบียนจึงได้พัฒนากล่องเครื่องมือไอทีขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติที่จำเป็นแก่ผู้ใช้ในการสำรวจแหล่งข้อมูล สร้างหลักเกณฑ์และดำเนินงานในกระบวนการเชื่อมโยง

 

บทสรุป ข้อจำกัด และแนวทางต่อไป

     โครงการนี้สร้างต้นแบบของการบูรณาการข้อมูลในเนปาล โดยมีการดำเนินการครอบคลุมขั้นตอนทั้งหมดตั้งแต่กำหนดวัตถุประสงค์ เตรียมพร้อมการประมวลผลข้อมูล การเชื่อมโยงระเบียน และการสร้างสถิติแบบใหม่ ถึงแม้การดำเนินการจะสำเร็จในหลายด้านแต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างด้วย ดังนั้น NSO อาจต้องทำสำรวจการใช้แหล่งข้อมูลใหม่ โดยควรอาศัยความร่วมมือการทำงานร่วมกันและการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

 

อ้างอิงจาก Exploring new horizons : Nepal’s pilot in implementing data integration approaches : United Nations ESCAP

https://www.unescap.org/kp/2023/exploring-new-horizons-nepals-pilot-implementing-data-integration-approaches#

ไฟล์ PDF