NSO
0

HOME / Agricultural Census

สำมะโนการเกษตร (available only Thai version)

  • สำมะโนการเกษตร
  • วันสำมะโน
  • ความเป็นมาและความสำคัญ
  • แนวคิดของการทำสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566

สำมะโนการเกษตร
     เป็นการดำเนินการทางสถิติที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และนำเสนอผลข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรของประเทศ ได้แก่ จำนวนผู้ถือครองทำการเกษตร และเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร (มีเท่าใด อยู่ที่ไหนบ้าง) ทำกิจกรรมการเกษตรอะไรบ้างและดำเนินการอย่างไร มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ และลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรบ้าง โดยการเก็บข้อมูลจากเกษตรกรที่เป็นผู้ถือครองทำการเกษตรทุกรายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เสมือนเป็นการฉายภาพนิ่ง แสดงให้เห็นลักษณะการทำการเกษตรของประเทศไทย ณ วันสำมะโน

วันสำมะโน
     คือ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 กำหนดขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงข้อมูลที่เก็บรวบรวม เช่น จำนวนผู้ถือครองทำการเกษตร เนื้อที่ถือครองทำการเกษตร จำนวนผู้ปลูกพืช ผู้เลี้ยงสัตว์ ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด

ความเป็นมาและความสำคัญ
     ตามที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ (UN) ได้มีข้อแนะนำให้ประเทศสมาชิกจัดทำสำมะโนการเกษตร เพื่อให้มีชุดข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเพียงพอ สำหรับการวางแผน เฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาประเทศด้านการเกษตรและคุณภาพชีวิตของประชากรในภาคการเกษตรของประเทศ พร้อมทั้งให้สามารถและเปรียบเทียบกับข้อมูลระหว่างประเทศได้ ประกอบกับมาตรา 6(4) แห่งพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่าง หรืออำนวยการให้มีการสำรวจด้านต่างๆ ของประเทศ สำหรับการจัดทำสำมะโนการเกษตรของประเทศไทยนั้น สสช. ได้จัดทำมาแล้ว 6 ครั้ง ครั้งแรก พ.ศ. 2493 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2506 ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2521 ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2536 ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546 และครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2556 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ FAO ที่ให้ทุกประเทศจัดทำสำมะโนการเกษตรทุก 10 ปี เป็นอย่างน้อย สสช. จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำสำมะโนการเกษตรอีกครั้งในปี พ.ศ. 2566

แนวคิดของการทำสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566
     สำหรับการจัดทำสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 นี้ สสช. ได้มีแนวคิดในการปรับปรุงวิธีการทำสำมะโนการเกษตรด้วยการนำข้อมูลทะเบียนเกษตรกรมาใช้ประโยชน์ในการจัดทำสำมะโน เพื่อให้ประเทศมีฐานข้อมูลของผู้ทำการเกษตรอย่างครบถ้วน ทั้งที่อยู่ในและนอกทะเบียน นอกจากนี้ สสช. ยังได้ปรับกระบวนการจัดทำข้อมูลสถิติจากสำมะโนการเกษตรให้มีความทันสมัยขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาเป็นระบบงานสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการโครงการสำมะโนการเกษตรในทุกขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลจากสำมะโนการเกษตรมีความถูกต้อง ครบถ้วน และมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้ประเทศมีข้อมูลสถิติทางด้านการเกษตรที่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการเปรียบเทียบกับนานาชาติได้ และที่สำคัญมีข้อมูลอย่างเพียงพอในการติดตามและกำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศ ที่รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชากรในภาคการเกษตรด้วย และการจัดทำสำมะโนการเกษตรในครั้งนี้ ยังเป็นการพัฒนาการจัดทำสถิติด้านการเกษตรของประเทศด้วยรูปแบบการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันด้วย

Area held for agriculture

142.9 million rai

Agricultural holding area

16.4 rai/person

Number of agricultural holdings

8.7 million cases

Grow plants 8 million cases

92.1 %

animal husbandry

20.6 %

Raising aquatic animals

2.1 %

Na Kluea Samut

0.01 %

Agricultural machinery

71.3 %

Use a drone

4.0 %

Use the application

29.8 %

Agricultural debt

74.3 %

Disaster

73.5 %

Preparation Agricultural Census

ในการจัดทำสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
  1) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรที่เก็บรวบรวมจากผู้ถือครองทำการเกษตรทุกราย
  2) เพื่อให้มีข้อมูลสถิติการเกษตรทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ย่อย สำหรับใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นต่อไป
  3) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
  4) เพื่อให้มีข้อมูลสถิติการเกษตร ที่เพียงพอต่อความต้องการใช้และทันสมัย
  5) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำเป็นกรอบตัวอย่าง (Sampling frame) สำหรับการสำรวจด้านการเกษตร
  6) เพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางในการสะท้อนปัญหา และมีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการพัฒนาอาชีพ


ไฟล์ดาวน์โหลด :

  1) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร ได้แก่ จำนวนผู้ถือครองและเนื้อที่ ถือครองทำการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด การทำนาเกลือสมุทร การใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง การถือครองที่ดิน เนื้อที่เพาะปลูกพืช เนื้อที่ทำนาเกลือสมุทร และเนื้อที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด จำนวนการเลี้ยงปศุสัตว์  การใช้ปุ๋ย การใช้เครื่องจักรเครื่องมือเพื่อการเกษตร และกำลังแรงงานที่ใช้ในการเกษตร เป็นต้น
  2) เพื่อให้มีข้อมูลดังกล่าวทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น สำหรับใช้ประกอบ การวางแผนพัฒนาในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นต่อไป
  3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
  4) เพื่อหาครัวเรือนประมงน้ำจืด ครัวเรือนประมงทะเล และครัวเรือนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (รวมเพาะพันธุ์)


ไฟล์ดาวน์โหลด :

ขอบข่าย
การทำการเกษตร หมายถึง การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด และการทำนาเกลือสมุทร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขาย ดังต่อไปนี้
   1) การปลูกพืช ได้แก่ ข้าว ยางพารา พืชยืนต้นและไม้ผล สวนป่า พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเพาะชำพันธุ์ไม้ การเพาะเห็ดและการเพาะเชื้อเห็ด (ให้รวมการปลูกข้าวเพื่อบริโภคด้วย)
   2) การเลี้ยงสัตว์ รวมการเพาะพันธุ์สัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ไก่ เป็ด ห่าน ไหม และการเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ ที่ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 (ให้รวมการเลี้ยงโค หรือกระบือเพื่อใช้งานเกษตรด้วย)
   3) การเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด (รวมการเพาะฟักและ/หรืออนุบาลสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด) ได้แก่ สัตว์น้ำจำพวกปลา รวมปลาและสัตว์น้ำสวยงามอื่น ๆ กุ้ง สัตว์น้ำอื่น ๆ เช่น กบ ตะพาบน้ำ จระเข้น้ำจืด และสัตว์น้ำกร่อยที่นำมาเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว ปลากะพง
   4) การทำนาเกลือสมุทร
หมายเหตุ 
   1. ในการนับจดสำมะโนการเกษตรครั้งนี้ ให้นับจดผู้ถือครองทำการเกษตร รวมในกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. การทำประมงน้ำจืด 2. การทำประมงทะเล และ 3. การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง (รวมเพาะพันธุ์)
   2. ไม่รวมการทำเกษตรเพื่อการศึกษา การทดลอง การแข่งขัน การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และไม่รวมการบริการทางการเกษตร เช่น การรับจ้างไถด้วยรถแทรกเตอร์ รับจ้างขุดบ่อ รับจ้างฟักไข่ รับจ้างผสมพันธุ์ 
   3. “วัตถุประสงค์เพื่อขาย” ในที่นี้ให้รวมการทำการเกษตรที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขายในตอนแรก แต่มีการขายผลผลิตทางการเกษตร อาจเนื่องจากได้ผลผลิตจำนวนมาก หรือมีผู้ต้องการซื้อแล้วมีการขายผลผลิตเกิดขึ้นแล้ว เช่นนี้ ให้ถือว่าเป็นการทำการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายด้วย

คุ้มรวม 
เกษตรกรที่เป็นผู้ถือครองทำการเกษตรทุกรายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งที่อยู่ในและนอกทะเบียน


ไฟล์ดาวน์โหลด :

ขอบข่าย
การทำการเกษตร หมายถึง การเพาะปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด และการทำนาเกลือสมุทร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขาย  ดังต่อไปนี้
  1) การเพาะปลูกพืช   ได้แก่  การเพาะปลูกข้าว ยางพารา  พืชยืนต้น/ไม้ผลและสวนป่า  พืชไร่  พืชผัก/สมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ   ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์   การเพาะชำพันธุ์ไม้    การเพาะเห็ดและการเพาะเชื้อเห็ด (รวม การเพาะปลูกข้าวเพื่อบริโภค)
  2) การเลี้ยงปศุสัตว์ (รวมการเพาะพันธุ์สัตว์)  ได้แก่  การเลี้ยงวัว  ควาย  หมู  แพะ  แกะ  ไก่  เป็ด  ห่าน  และไหม (รวม การเลี้ยงวัว/ควายเพื่อใช้งานเกษตร)
  3) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด   (รวมการเพาะฟักและ/หรืออนุบาลสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด)  ได้แก่  การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดจำพวกปลา รวมปลาและสัตว์น้ำสวยงามอื่น ๆ กุ้ง  และสัตว์น้ำอื่น ๆ  เช่น  กบ ตะพาบน้ำ  จระเข้น้ำจืด และปลาสวยงาม  เป็นต้น (รวม  สัตว์น้ำกร่อยที่นำมาเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืดด้วย  เช่น กุ้งกุลาดำ  ปลากะพง  เป็นต้น
  4) การทำนาเกลือสมุทร  ได้แก่ การทำนาเกลือ ในพื้นที่ 7 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี สมุทรสาครสมุทรสงคราม เพชรบุรี และปัตตานี
ไม่รวม  
  1. การทำการเกษตรเพื่อการศึกษา  ทดลอง  การแข่งขัน  การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ 
  2. การบริการทางการเกษตร เช่น การรับจ้างไถด้วยรถแทรกเตอร์ รับจ้างขุดบ่อ รับจ้างฟักไข่  รับจ้างผสมพันธุ์สัตว์ เป็นต้น
หมายเหตุ    
ในการทำสำมะโนการเกษตรครั้งนี้ได้ผนวกข้อถามเกี่ยวกับการทำประมงน้ำจืด การทำประมงทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (รวมเพาะพันธุ์) เพิ่มไว้ในแบบนับจด    เพื่อให้กรมประมงนำไปใช้เป็นกรอบในการเลือกตัวอย่างสำหรับการสำรวจรายละเอียดต่อไป  ดังนี้ 
เฉพาะ 24 จังหวัด ชายทะเล คือ ตราด  จันทบุรี ระยอง ชลบุรี  ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร  สมุทรสงคราม  เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ชุมพร  สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช  พัทลุง  สงขลา  ปัตตานี นราธิวาส ระนอง  พังงา  ภูเก็ต  กระบี่  ตรัง  และสตูล
คุ้มรวม 
สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2556 คือ ผู้ถือครองทำการเกษตรทุกคนในทุกท้องที่ทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล


ไฟล์ดาวน์โหลด :

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
     ข้อมูลสำมะโนการเกษตรในครั้งนี้ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้พนักงานแจงนับไปสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และผู้ถือครองทำการเกษตรตอบข้อมูลเอง พร้อมบันทึกข้อมูลลงบนแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ ตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กำหนด โดยให้มีการนับจดและแจงนับไปพร้อมกัน


ไฟล์ดาวน์โหลด :

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
  การเก็บรวบรวมข้อมูลจะดำเนินการพร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยส่งเจ้าหน้าที่ประมาณ  20,000 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานแจงนับ 17,000 คน และเจ้าหน้าที่วิชาการ 3,000 คน ออกไปสัมภาษณ์ผู้ถือครองทำการเกษตร/หัวหน้าครัวเรือนทุกครัวเรือน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบการเกษตร การทำประมงน้ำจืด การทำประมงทะเล และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (รวมเพาะพันธุ์) (การนับจด) ข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการเลือกผู้ถือครองทำการเกษตรที่เข้าข่ายตามคุ้มรวม และทำการสัมภาษณ์รายละเอียดที่เข้าข่าย (การแจงนับ)


ไฟล์ดาวน์โหลด :

ระเบียบวิธีทางสถิติ

     สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 มีการนำข้อมูลทะเบียนเกษตรกรมาใช้สนับสนุนในการจัดทำ โดยในการนับจดมีการปรับเปลี่ยนเป็นการนำข้อมูลทะเบียนมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการจัดทำกรอบสำมะโนด้วย สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดหรือการแจงนับ ในการทำสำมะโนการเกษตรครั้งนี้ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจงนับจากงานสนามผสมผสานกับการใช้ข้อมูลจากทะเบียน ระเบียบวิธีการแจงนับนั้น กำหนดให้มีการแจงนับครบถ้วนทุกผู้ถือครองทำการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีการนำข้อมูลจากทะเบียนบางรายการมาใช้แทนการแจงนับด้วย


ไฟล์ดาวน์โหลด :

ระเบียบวิธีการทำสำมะโน 
     การทำสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2556 จะมีการใช้วิธีการเลือกตัวอย่างร่วมด้วย ในการเก็บข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการทำการเกษตร โดยจะแบ่งข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมออกเป็น 2 ส่วน คือ 
  ส่วนที่ 1 (ข้อถามตอนที่ 1 – 10 ) เป็นข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานหลักทางการเกษตร จะทำการแจงนับแบบครบถ้วน(100%) คือทำการสัมภาษณ์ผู้ถือครองทำการเกษตรทุกคน
  ส่วนที่ 2 (ข้อถามตอนที่ 11 – 16 ) เป็นข้อมูลโครงสร้างทางการเกษตรอื่น จะทำการแจงนับด้วยวิธีเลือกตัวอย่างโดยทำการสัมภาษณ์ผู้ถือครองทำการเกษตรที่ตกตัวอย่าง ร้อยละ 25


ไฟล์ดาวน์โหลด :

แบบสอบถามที่ใช้ในการทำสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 มี 2 แบบ คือ
   1) แบบนับจด (สก.1) เป็นแบบที่ใช้สำหรับการนับจดผู้ถือครองทำการเกษตรทั้งหมดในแต่ละเขตปฏิบัติงาน เพื่อใช้ตรวจสอบความครบถ้วนของการปฏิบัติงาน และเพิ่มเติมผู้ถือครองทำการเกษตรรายใหม่ที่ไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูลผู้ถือครองสำหรับสำมะโนการเกษตร
   2) แบบแจงนับ (สก.2) เป็นแบบที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการทำการเกษตรในที่ถือครองของผู้ถือครองทำการเกษตร

เวลาอ้างอิง
วันสำมะโน หมายถึง วันที่ 1 พฤษภาคม 2566
ในรอบ 12 เดือนที่แล้ว หมายถึง วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566

คาบเวลาการปฏิบัติงานสนาม
พฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2566


ไฟล์ดาวน์โหลด :

ประโยชน์ของข้อมูล

1) มีข้อมูลสถิติการเกษตรที่สำคัญ จำเป็น อย่างเพียงพอต่อความ ต้องการใช้และทันสมัย ผู้ใช้ข้อมูลทุกภาคส่วนนำไปใช้ประโยชน์ตามภารกิจได้​

2) มีข้อมูลสถิติการเกษตรในระดับประเทศและระดับพื้นที่ย่อย เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการบริหาร กำหนดนโยบายและ​มาตรการเพื่อพัฒนาการเกษตรและประชากรในภาคการเกษตร 

3) มีชุดข้อมูลสำหรับวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเกษตรและการพัฒนาภาคการเกษตรและประชากรภาคการเกษตรของประเทศอย่างน้อยทุก 10 ปี

4) มีฐานข้อมูลผู้ถือครองทำการเกษตรที่ครอบคลุมทั้งผู้ที่อยู่ในและนอกทะเบียนเกษตรกรที่ใช้แลกเปลี่ยนเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน เพื่อใช้ประโยชน์ ข้อมูลร่วมกันได้

5) มีกรอบตัวอย่าง (Sampling frame) ที่ทุกหน่วยงานสามารถนำไปใช้ในการเลือกตัวอย่าง สำหรับการสำรวจด้านการเกษตร

6) มีข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา ความต้องการ ของเกษตรกรทุกกลุ่ม


ไฟล์ดาวน์โหลด :

ประโยชน์ที่จะได้รับ 
     ข้อมูลที่ได้จากการจัดทำสำมะโนการเกษตรนี้หน่วยงานต่าง ๆ  ทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษารวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
1) ข้อมูลด้านการเกษตร
    1. ใช้ในการวางแผน  กำหนดนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตรในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น และใช้ในการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา
    2. ใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านการเกษตร  และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
    3. ใช้ศึกษาและประกอบการพิจารณา  ในการกำหนดนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรด้านที่ดินทำกิน
    4. ใช้กำหนดนโยบายการใช้ที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด  ในสภาพของแต่ละท้องถิ่น  ให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด
    5. ข้อมูลของเกษตรกร  เช่น  เพศ อายุ  ลักษณะการทำงาน  รายได้และหนี้สินทางการเกษตร  การศึกษา  ของผู้ถือครอง  สามารถใช้วิเคราะห์โครงสร้างทางประชากรของเกษตรกรและฐานะของครัวเรือน  การพึ่งพิงรายได้  เพื่อกำหนดนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยผู้ยากจน
    6. ข้อมูลด้านแรงงานในภาคเกษตรสามารถใช้ศึกษาการใช้แรงงาน  และการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง
    7. ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นกรอบในการเลือกตัวอย่าง (Sampling Frame)  สำหรับการสำรวจในรายละเอียดเกี่ยวกับการเกษตรต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    8. ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำบัญชีประชาชาติ  สาขาการเกษตร
    9. เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการ  นักวิจัย  และผู้ที่สนใจนำไปศึกษาวิเคราะห์วิจัยด้านการเกษตร และด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  
2) ข้อมูลด้านการประมงน้ำจืด ประมงทะเล และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง  (รวมเพาะพันธุ์) 
     สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำกรอบสำหรับการเลือกตัวอย่าง (Sampling Frame)  เพื่อสำรวจข้อมูลในรายละเอียดเกี่ยวกับการทำประมงน้ำจืด ประมงทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (รวมเพาะพันธุ์) ต่อไป


ไฟล์ดาวน์โหลด :

Agricultural Census

Applications using in agriculture Province Southern Region

25 April 2024
อินโฟกราฟิก

Applications using in agriculture Province Northern Region

25 April 2024
อินโฟกราฟิก

Applications using in agriculture Province Central Region

25 April 2024
อินโฟกราฟิก

Applications using in agriculture Province Northeastern Region

25 April 2024
อินโฟกราฟิก

Applications using in agriculture Whole Kingdom

25 April 2024
อินโฟกราฟิก

The impact of problems and disasters on agriculture

22 March 2024
อินโฟกราฟิก

The impact of problems and disasters on agriculture Central Region

22 March 2024
อินโฟกราฟิก

The impact of problems and disasters on agriculture Northern Region

22 March 2024
อินโฟกราฟิก

The impact of problems and disasters on agriculture Southern Region

22 March 2024
อินโฟกราฟิก
(available only Thai version)

กิจกรรม Kick off กทม วันที่ 24 พฤษภาคม 2566

NSO Sammano 24 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

สำมะโนการเกษตร คืออะไร

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
อินโฟกราฟิก
(available only Thai version)

ประโยชน์ที่ได้รับจากสำมะโนการเกษตร

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
อินโฟกราฟิก
(available only Thai version)

แนะนำโครงการสำมะโนเกษตร 2566

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

คลิปสัมภาษณ์โครงการสำมะโนการเกษตร

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

คลิปสัมภาษณ์โครงการสำมะโนการเกษตร ฉบับเต็ม

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

กิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการสำมะโนการเกษตร

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

แนะนำโครงการ 2 นาที

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

แนะนำโครงการ 2 นาที Melayu

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

spot เสียง ความยาว 30 วินาที

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

spot เสียง ความยาว 1 นาที

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก
(available only Thai version)

หนี้สินของครัวเรือนเกษตร ปี 2564

NSO Sammano 1 พฤษภาคม 2566
โมชั่นกราฟิก

Report

News, activities and public relations

activity news
แถลงผล สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566
(available only Thai version)
แถลงผล สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566
11 มกราคม 2567
ภาพกิจกรรม
คลิปวิดีโอ
read more
โครงการสำมะโนการเกษตร พ.ศ.2566
(available only Thai version)
การประชุมรายงานผลการจัดทำสำมะโนทดลองและแนวทางการปรับปรุงแผนงาน โครงการสำมะโนการเกษตร พ.ศ.2566
7 ตุลาคม 2565
ภาพกิจกรรม
คลิปวิดีโอ
read more