สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม (available only Thai version)
-
สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม
History
-
The first industrial census
-
The first commercial and service business census
-
The 2nd Business Census
-
The 2nd Industrial Census (Start planning every 10 years)
-
The 3rd business census (planned to be conducted every 10 years)
-
The 3rd Industrial Census (beginning to plan every 5 years)
-
The merger of the 4th business census and the 4th industrial census
-
The 5th Industrial Census
-
The 2nd Business and Industrial Census Merge The 5th Business Census The 6th Industrial Census
Preparation Industrial and Business Census
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะโนอุตสาหกรรม ทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการได้จัดทำมาแล้ว 4 ครั้งในปี 2509 ปี 2531 ปี 2545 และปี 2555 ส่วนสำมะโนอุตสาหกรรมได้จัดทำมาแล้ว 5 ครั้ง ในปี 2507 ปี 2540 ปี 2550 ปี 2555 และ ปี 2560 โดยตั้งแต่ปี 2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการปรับระยะเวลาการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมเป็นประจำทุก 5 ปี เนื่องจากหน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ขอให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปรับเปลี่ยนระยะเวลาการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมจากทุก 10 ปี เป็นจัดทำทุก 5 ปีเนื่องจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกทำให้โครงสร้างการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค ประกอบกับประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ได้มีการจัดทำสำมะโนด้านเศรษฐกิจ ทุก 5 ปี ดังนั้น ในปี 2555 ซึ่งครบรอบ 10 ปี ในการจัดสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และครบรอบ 5 ปี การจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้บูรณาการโครงการสำมะโนดังกล่าวไว้ด้วยกัน ภายใต้ชื่อ “สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม” ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของการบูรณาการโครงการสำมะโนด้านเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับในปี 2565 นี้ จะครบรอบในการจัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ ครั้งที่ 5 และสำมะโนอุตสาหกรรม ครั้งที่ 6 ของประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงกำหนดแผน การบูรณาการโครงการฯ ไว้ด้วยกันอีกครั้ง ”
ไฟล์ดาวน์โหลด :
เนื่องจากการจัดทำสำมะโนเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกหน่วยที่อยู่ในขอบข่าย (Complete Enumeration) ซึ่งต้องใช้งบประมาณ เวลา และผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงกำหนดแผนการดำเนินงาน สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ. ศ. 255 5 โดยในขั้นตอนการนับจด (Listing) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล พื้นฐานจากทุกสถานประกอบการทั่วประเทศ ส่วนขั้นตอนการแจงนับ (Enumeration) ได้มีการนำระเบียบ วิธีการสำรวจด้วยตัวอย่างมาใช้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ : การนับจด (Listing)
เป็นการเก็บรวบรวม ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานของสถานประกอบการตามขอบข่ายคุ้มรวม ทั่วประเทศ เช่น ชื่อ สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร รูปแบบการจัด ตั้ง ตามกฎหมาย/ ทางเศรษฐกิจ การร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศ จำนวนคนทำงาน จำนวนลูกจ้าง เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด : การแจงนับ (Enumeration)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด เฉพาะของสถานประกอบการธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และการผลิต โดย สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 10 คน จะทำการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากทุกสถานประกอบการ (Complete Enumeration) ส่วนสถานประกอบการ ที่มีคนทำงาน 1 - 10 คน (ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก) จะใช้วิธีการสำรวจด้วยตัวอย่าง (Sample Survey) สำหรับรายละเอียดข้อมูล ที่เก็บรวบรวม มีดังนี้
ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ
- ประเภทธุรกิจ และขนาดของสถานประกอบการ
- จำนวนคนทำงาน ลูกจ้างและค่าตอบแทนแรงงาน
- มูลค่าซื้อสินค้าเพื่อการจำหน่ายหรือให้บริการ
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
- รายรับของสถานประกอบการ
- สินค้าคงเหลือต้นปี และปลายปี
- สินทรัพย์ถาวร
การผลิต
- ประเภทอุตสาหกรรมการผลิต และขนาดของสถานประกอบการ
- ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
- จำนวนคนทำงาน ลูกจ้างและค่าตอบแทนแรงงาน
- ต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
- ผลผลิตและราย รับ
- วัตถุดิบและสินค้าคงเหลือต้นปี และปลายปี
- สินทรัพย์ถาวร
ไฟล์ดาวน์โหลด :
- การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน หรือการนับจด (Listing) : จะสอบถามจาก สถานประกอบการทั่วประเทศที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทยปี 2552 (Thailand Standard Classification : TSIC-2009) ดังนี้
- ธุรกิจทางการค้า (การค้าปลีก การค้าส่ง) และธุรกิจทางการบริการ
- การผลิต
- การก่อสร้าง
- การขนส่งทางบก และสถานที่เก็บสินค้า
- กิจกรรมด้านข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
- โรงพยาบาลเอกชน
ไม่รวม : แผงลอยในตลาด แผงลอยและหาบแร่ และแผงลอยในศูนย์การค้า
- การเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด หรือการแจงนับ (Enumeration) : จะสอบถามจาก สถานประกอบการทั่วประเทศที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับธุรกิจการค้าปลีก ค้าส่ง การบริการและ การผลิต
ไฟล์ดาวน์โหลด :
ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ข้อมูลพื้นฐาน ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชนที่สำคัญ ดังนี้
ภาครัฐ
1) ใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก
2) ใช้ในการจัดทำดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจและภาวะการดำเนินกิจการ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของประเทศ สัดส่วนแรงงานในภาคการผลิต การบริการ เป็นต้น
3) ใช้ในการจัดทำแผนวิเคราะห์สถานการณ์ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของประเทศ
4) ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายออกกฎหมายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและกำหนดทิศทางการประกอบธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตให้เป็นไปตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้
5) เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อ สนับสนุน ธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ
6) ใช้ในการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการวางแผนเตือนภัยทางเศรษฐกิจและสังคม
7) ใช้ประโยชน์ในทางสถิติ เพื่อจัดทำกรอบตัวอย่าง สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก สถานประกอบการของหน่วยสถิติต่างๆ
ภาคเอกชน
1) ผู้ประกอบการใช้ ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการดำเนินกิจการ เป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งการวางแผนตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนขยายกิจการ/สาขา บริหารและควบคุมการดำเนินกิจการ ในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2) ใช้ข้อมูลเป็นมาตรฐาน เพื่อเปรียบเทียบ (Benchmark) ผลการดำเนินงานตนกับกิจการอื่นๆ ในอุตสาหกรรม ประเภทเดียวกัน หรือขนาด ต่างๆ
3) สำหรับ นักวิชาการ นักวิจัย และสถาบันการศึกษา นำไปศึกษาวิเคราะห์ต่อยอด สร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และ อุตสาหกรรมการผลิตที่อยู่ในความสนใจ และเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง