สำมะโนประชากรและเคหะ (available only Thai version)
-
สำมะโนประชากรและเคหะ
สำมะโนประชากรและเคหะ คืออะไร
การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรทุกคนในประเทศ ตามที่อยู่จริง และที่อยู่อาศัยของประชากรทุกคน ตามที่อยู่จริง ซึ่งเป็นเสมือนการฉายภาพนิ่ง ณ วันสำมะโน (วันที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเวลาอ้างอิง) เพื่อแสดงภาพว่า ณ วันสำมะโน ประเทศไทยมีประชากรเท่าใด อยู่ที่จังหวัด/อำเภอ/ตำบลใด เป็นชาย/หญิง เด็ก/คนทำงาน/คนแก่ คนพิการเท่าใด มีการศึกษาระดับไหน มีผู้รู้หนังสือมากน้อยเพียงใด คนในวัยทำงานมีงานทำหรือไม่ อาชีพ/สถานภาพเป็นอย่างไรและมีสถานที่อยู่อาศัยแบบไหน ถูกสุขลักษณะหรือไม่ ที่ใดมีผู้ย้ายถิ่นเข้า/ออกมาก เป็นต้น ซึ่งแตกต่างกับข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย คือ ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ แสดงจำนวนประชากร ตามทะเบียนบ้าน (ตามกฎหมาย) และมีข้อมูลเฉพาะเพศและอายุ เท่านั้น ทั้งนี้ประชากรจำนวนมากที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน
Preparation Population and Housing Census
ประเทศไทยเริ่มดำเนินการนับจำนวนประชากรเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2448 ซึ่งทำได้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตบริหาร 12 มณฑล จากทั้งหมด 17 มณฑล ที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยแจกแจงว่าเป็นเพศใด ผู้ชาย ผู้หญิง อายุเท่าไหร่ และเป็นคนชาติพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งเรียกว่า “บัญชีพลเมือง” ต่อมาได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากรของประเทศในรูปแบบของการทำสำมะโนประชากรโดยกระทรวงมหาดไทย ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2452 ต่อมาใน พ.ศ. 2462 2472 2480 และ พ.ศ. 2490 เรียกว่า สำรวจ“สำมะโนครัว” สำนักงานสถิติแห่งชาติ รับผิดชอบและดำเนินการจัดทำสำมะโนประชากร ครั้งแรกใน พ.ศ. 2503 ต่อมาใน พ.ศ. 2513 2523 2533 2543 ซึ่งดำเนินการทุก 10 ปี และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการจัดทำสำมะโนเคหะไปพร้อมกับการทำสำมะโนประชากร และในปี พ.ศ. 2553 นี้ จะเป็นการทำสำมะโนเคหะครั้งที่ 5 และเป็นการทำสำมะโนประชากรครั้งที่ 11 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 100 ปี สำมะโนประชากรประเทศไทย
ไฟล์ดาวน์โหลด :
1) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานของประชากร (เพศ อายุ สัญชาติ การศึกษา การทำงาน เป็นต้น) ตามที่อยู่จริง และที่อยู่อาศัย (ประเภท การมีน้ำดื่ม/น้ำใช้ เป็นต้น)
2) เพื่อให้ได้ข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย (หมู่บ้าน อบต. เทศบาล เป็นต้น)
3) เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรและที่อยู่อาศัยในรอบ 10 ปี
ไฟล์ดาวน์โหลด :
ภาครัฐ
1. ใช้ในการกำหนดโยบาย/วางแผนทั้งด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2. ใช้เพื่อจัดเตรียมงบประมาณเพื่อจัดหาสาธารณูปโภคและบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ตรงตามความต้องการหรือตามความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น (หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด) อาทิเช่น - การจัดหาสาธารณูปโภคให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ (ที่อยู่อาศัย น้ำ/ไฟ การบริการสาธารณสุข รถประจำทาง ที่ทิ้งขยะ ฯลฯ) - การจัดจำนวนโรงเรียน/ครูให้เพียงพอและเหมาะสม โดยมีเป้าหมายคือให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน - การจัดเตรียมวัคซีนสำหรับเด็กแต่ละวัยให้เพียงพอ - การจัดสวัสดิการให้เพียงพอกับคนด้อยโอกาส (คนชรา คนพิการ) - ในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่หนาแน่นหรือแออัด จำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการด้านแรงงานให้เหมาะสมและต้องจัดบริการสาธารณสุขให้เพียงพอ เพื่อป้องกันโรคระบาด/โรคติดต่อบางประเภทที่หายไปแล้วในประเทศไทย แต่มีโอกาสกลับมาใหม่กับแรงงานต่างด้าว - ข้อมูลโครงสร้างของประชากรตามที่อยู่จริง จะใช้เป็นฐานในการจัดแผนยุทธศาสตร์จังหวัด โดยในการจัดทำ GPP นั้นจำเป็นต้องใช้จำนวนประชากรที่ถูกต้องครบถ้วนในระดับจังหวัด และในการคำนวณตัวชี้วัดที่แสดงผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการในจังหวัดได้อย่างถูกต้องนั้น ต้องใช้จำนวนประชากรจริงเป็นตัวหาร เช่น รายได้เฉลี่ยต่อหัว อัตราการมารับบริการด้านต่างๆ เป็นต้น
3. ใช้เป็นฐานในการคาดประมาณประชากรในอนาคต (Population Projection)
4. ใช้ในการประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) และใช้จัดเตรียมแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559)
5. ใช้เป็นกรอบในการเลือกตัวอย่าง (Sampling Frame) สำหรับการสำรวจในรายละเอียดเฉพาะเรื่องด้านประชากร/สังคม
6. ใช้เป็นฐานร่วมกับการสำรวจต่างๆ เช่น การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในการจัดทำตัวชี้วัดต่างๆ เช่น - แผนที่ความยากจน (Poverty Mapping) - แผนที่ผู้หิวโหย (Hunger Mapping) ภาคเอกชน ใช้ข้อมูลความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ต่างๆ (ตามเพศ อายุ อาชีพ เป็นต้น) เพื่อประกอบ การตัดสินใจในการทำธุรกิจ เช่น ตั้งร้านค้าหรือขยายกิจการตามลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ภาคประชาชน มีความอยู่ดีมีสุข เนื่องจากได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเพียงพอและทั่วถึง
ไฟล์ดาวน์โหลด :
1. คุ้มรวมประชากร
1.1 คนไทยทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในวันสำมะโน (1 กันยายน 2553)
1.2 ข้าราชการฝ่ายทหาร/พลเรือน/คณะทูตของไทยพร้อมครอบครัว ซึ่งมีสำนักงานอยู่ต่างประเทศ
1.3 คนต่างชาติ/ต่างด้าว ที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปนับถึงวันสำมะโน
1.4 คนไทย/ต่างชาติ/ต่างด้าวที่มีสถานที่อยู่ปกติในประเทศไทยแต่ในวันสำมะโนได้ไปต่างประเทศ ชั่วคราว ไม่รวม - เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ทหารและทูตต่างประเทศพร้อมทั้งครอบครัว ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย - คนต่างชาติ/ต่างด้าว ผู้ซึ่งเข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 3 เดือน นับถึงวันสำมะโน - ผู้อพยพหรือผู้หลบหนีเข้าเมืองซึ่งอยู่ในค่ายอพยพที่รัฐบาลกำหนดขึ้น
2. คุ้มรวมเคหะ
สถานที่ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของประชากรทุกแห่งทั่วประเทศ อาทิเช่น บ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ที่สาธารณะ ห้องภายในสำนักงาน ใต้สะพาน เป็นต้น
ไฟล์ดาวน์โหลด :
แบบสอบถามที่ใช้ในการทำสำมะโนฯ มี 2 แบบ ดังนี้
1. แบบนับจด (สปค.1) ใช้สำหรับการสัมภาษณ์ครัวเรือนทุกประเภท โดยแสดงที่ตั้งของครัวเรือน ประเภทของครัวเรือนและที่อยู่อาศัย จำนวนสมาชิกในแต่ละครัวเรือน
2. แบบแจงนับ (สปค.2) ใช้สัมภาษณ์ประชากรทุกคนในครัวเรือนตามคุ้มรวม โดยมีข้อถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ สัญชาติ ศาสนา การศึกษา ภาษาพูด อาชีพ สถานภาพสมรส ความพิการ จำนวนบุตรเกิดรอด การย้ายถิ่น ประเภทที่อยู่อาศัย ทรัพย์สิน เป็นต้น
ไฟล์ดาวน์โหลด :
Report
Demographics
complete
การเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งที่สนใจทั้งหมดทั้งประเทศ เช่น คน ที่อยู่อาศัย การเกษตร การทำประมง ธุรกิจการค้า
การเก็บรวมรวบข้อมูลเกี่ยวกับประชากรทุกคนในประเทศตามที่อยู่จริง รวมทั้งข้อมูลที่อยู่อาศัยของประชากร เพื่อนำเสนอผลในภาพรวมของประเทศ ในระดับหมู่บ้าน เทศบาล ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ
เพื่อประเทศจะได้มีข้อมูลประชากรตามที่อยู่จริงในแต่ละท้องที่ เพื่อนำมากำหนดนโยบายและวางแผนงานในการระดับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ
ทำทุก 10 ปี ในปี 2553 เป็นครั้งที่ 11 และเป็นวาระครบ 100 ปี ของการทำสำมะโนประชากรของประเทศไทย