NSO

ข่าวกิจกรรม/ประชาสัมพันธ์

0

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จับมือหน่วยงานภาคีเครือข่ายขยายผลการขับเคลื่อนดิจิทัลหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในชีวิตประจำวัน สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและเตือนภัยออนไลน์ และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอภายใต้หัวข้อ A Good Digital Citizen หรือการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ เพื่อขยายผลการขับเคลื่อนดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย

23 กันยายน 2567 จำนวนคนเข้าชม 202
111

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จับมือหน่วยงานภาคีเคลือข่ายขยายผลการขับเคลื่อนดิจิทัลหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในชีวิตประจำวัน สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและเตือนภัยออนไลน์ และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอภายใต้หัวข้อ A Good Digital Citizen หรือการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ เพื่อขยายผลการขับเคลื่อนดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. ที่ ลาน variety ชั้น 3 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ พร้อมด้วยนายสุรพันธ์ ศิลปะสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายจำลอง เก่งตรง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม และหัวหน้าส่วนราชการ เครือข่ายหน่วยงานภาคีในระดับจังหวัด ประชาชนทั่วไป สื่อมวลชน ร่วมเปิดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอ ภายใต้หัวข้อ A Good Digital Citizen “ก้าวไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน” ครั้งที่ 3

ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประธานเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ได้พูดถึงคุณสมบัติของการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพว่า ต้องใช้เทคโนโลยีในเชิงสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองในโลกออนไลน์ ปฏิบัติต่อผู้อื่นในโลกออนไลน์ด้วยความเคารพ ปกป้องข้อส่วนบุคคลของตนเองและและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น มีจริยธรรม ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์นำผลงานของคนอื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทอล ผลของการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพจะสามารถทำให้มีแหล่งแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่จะช่วยให้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ช่วยให้เราสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน แต่หากเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ไม่มีคุณภาพแล้วนั้นอาจเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามทางไซเบอร์และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากเกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี วันนี้รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทุกท่านได้มาพร้อมกัน และเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอ ภายใต้หัวข้อ A Good Digital Citizen “ก้าวไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน”

ในครั้งนี้ นายสุรพันธ์ ศิลปะสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวต้อนรับว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้รับเกียรติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่เลือกจังหวัดนครราชสีมาในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ทั้งภาคการผลิตสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของจังหวัด และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นเมืองแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง และก้าวไปสู่เป้าหมาย“Korat Smart City” ต่อไป

ด้าน นายจำลอง เก่งตรง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมฯ ในครั้งนี้และพูดถึงกิจกรรมในวันนี้ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รับการร่วมมือจาก จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์บริการลูกค้าNTนครราชสีมา จัดนิทรรศการส่งเสริมความรู้ทางด้านดิจิทัล และการเสวนาหัวข้อ “Digital-Driven Communities: ปลอดภัย มั่นใจ ยั่งยืน” และยังมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 5 ร่วมเสวนาบนเวทีด้วย

ดร.ปิยนุช กล่าวเสริมตอนท้ายว่า ในการจัดกิจกรรมฯที่ผ่านมา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสงขลาถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด เราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบการในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ครั้งละ จำนวนมากกว่า 200 คน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ที่ให้ความสนใจมาเข้าร่วมกิจกรรมของเราเป็นจำนวนมาก เพื่อรับความรู้เกี่ยวกับทักษะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับคนไทย

การจัดกิจกรรมในวันนี้ ที่จังหวัดนครราชสีมานับเป็นครั้งที่ 3 เราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากพี่น้องชาวโคราชเช่นเดียวกัน การเลือกจังหวัดนครราชสีมา เป็นสถานที่จัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพราะเล็งเห็นศักยภาพในการเป็น Digital Hub ของภาคอีสาน เนื่องจากนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูง มีความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ ในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในระยะยาว รวมทั้ง ชาวโคราชใช้โซเชียลมีเดียกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและสร้างการมีส่วนร่วมได้อีกทางหนึ่ง

แผนที่จะดำเนินกิจกรรมฯ ในส่วนภูมิภาค ครั้งถัดไปที่ ภาคเหนือ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล จังหวัดลำปาง ในวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวลำปาง และจังหวัดอื่นๆ ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาตนเองและการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัล เราได้เตรียมกิจกรรมที่หลากหลายไว้ให้ท่านได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ เพื่อร่วมกันสร้างสังคมดิจิทัลที่แข็งแกร่ง

111
     
111
     
111
     
111
     
111
     
111
     
111
     
111
     
111
     
111
     
111